การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี

ภัยร้ายจาก Blue light

ภัยร้ายจาก Blue light

คงไม่แปลกที่จะรู้สึกปวดตาหลังจากการใช้สายตาต่อเนื่องนานๆ แต่หากการใช้สายตาของคุณไม่ได้เป็นการใช้เพื่อจ้องมองสิ่งแวดล้อมทั่วๆไป หรือเป็นการอ่านหนังสือจากกระดาษ แต่กลับเป็นการจ้องมองไปที่จอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนนานๆ ก็ย่อมทำให้สายตาได้รับอันตรายมากกว่าการใช้สายตาในรูปแบบเดิมๆได้ เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะมี Blue light หรือแสงสีฟ้าที่มีความอันตรายต่อดวงตาของเรานั่นเอง

Purple laptop 3d illustration. black desk laptop computer with color pink purple light display. Premium Photo
ภัยร้ายจาก Blue light — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/purple-laptop-3d-illustration-black-desk-laptop-computer-with-color-pink-purple-light-display_7394852.htm#page=2&query=smart+phone+blue+light&position=1

Blue light แปลตรงตัวว่าแสงสีฟ้า โดยแสงสีฟ้าที่เราเจอนั้นมี 2 ประเภท คือ แสงสีฟ้าที่ดี และ แสงสีฟ้าที่ไม่ดี ในส่วนของแสงสีฟ้าที่ดีจะช่วยทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนบางชนิดออกมา ช่วยทำให้มีความ หรือทำให้นาฬิกาชีวิตทำงานได้เป็นปกติ อวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานเป็นปกติ ในขณะที่ แสงสีฟ้าที่เป็นโทษจะอยู่ในช่วงคลื่นที่ 415-455 นาโนเมตร ซึ่งเป็นแสงที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Visible light หรือใช้ตามองเห็นได้ ผลิตขึ้นจาก 2 แหล่งแสง ได้แก่ แสงจากธรรมชาติอย่างพระอาทิตย์ หรือแสงไฟประดิษฐ์จากหลอดไฟหรือจากอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคต่างๆ เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือหน้าจอtablet เป็นต้น

เมื่อดวงตาของเรามีการจ้องมอง Blue light อย่างต่อเนื่อง แสงตัวนี้มีเป็นอันตรายต่อเยื่อเรติน่า ซึ่งเป็นเยื่อในของลูกตา เรติน่าทำหน้าที่เป็นจอรับภาพ เมื่อจอรับภาพได้รับความเสียหายก็ย่อมส่งผลถึงการมองเห็นด้วยในทันที แสงสีฟ้าสามารถทะลุทลวงผ่านเลนส์ตาและกระจกตา และเข้าไปทำร้ายจอประสาทตาได้ เมื่อดวงตาของเราถูกแสงสีฟ้าเล่นงานจะทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับการมองเห็นหรือเกี่ยวกับอาการอื่นๆในร่างกายได้หลากหลายประการ เช่น

อาการตาล้า ความสว่างที่มากมายของแสงสีฟ้าทำให้ดวงตาจำเป็นต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้ส่งผลต่อการเกิดความเมื่อล้าของดวงตานั่นเอง

อาการตาแห้ง การจ้องมองที่มากกว่าปกติ ทำให้เราต้องเพ่งสายตามาขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่าย

อาการจอประสาทตาอาจเสื่อมได้ แสงสีฟ้าสามารถทะลุเข้าไปทำลายเซลล์รับแสงในจอประสาทตาได้ ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายฉบับกล่าวว่า การที่ดวงตาของเราจะต้องจ้องมองแสงต่างๆเหล่านี้เป็นเวลานาน จะมีผลทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งหากเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปก็ทำให้คนคนนั้นสูญเสียการมองเห็นได้เลย

นอนไม่หลับหรือหลับไม่ลึก การที่เราต้องจ้องมองแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน ส่งผลถึงการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด อย่างเช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีผลให้นอนหลับได้ดี การที่เมลาโทนินถูกกดไว้หรือมีการหลั่งไม่เป็นปกติ ก็จะทำให้มีปัญหาในเรื่องของการนอนหลับ ทั้งปัญหานอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่ลึก

แก่ก่อนวัย นอกจากเรื่องของสายตาและการนอนหลับแล้ว การจ้องมองแสงสีฟ้ายังทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอายุด้วย ทำให้การจ้องมองแสง Blue light เป็นเวลานานๆ อาจจะส่งผลให้แก่ก่อนวัยได้

Glasses and eye chart on white background Free Photo
ภัยร้ายจาก Blue light — ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/glasses-eye-chart-white-background_1168170.htm#page=2&query=blue+light+eye&position=11

เมื่อรับรู้ถึงพิษภัยของการมองแสง Blue light ไปแล้ว หลายคนก็คงจะบอกว่า ชีวิตของเราคงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการจ้องมองสมาร์ตโฟนได้จริงๆ เนื่องจากชีวิตประจำวันจะต้องใช้มันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน หรือการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน คนที่ทำงาน คนในครอบครัว หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆที่จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปล่อยแสงสีฟ้าออกมา แล้วเราจะมีวิธีอะไรได้บ้าง ที่จะช่วยป้องกันตาจากแสง blue light ได้

วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้กันก็คือการใช้เลนส์กรองแสงสีฟ้า เพื่อที่จะช่วยในการถนอมสายตาหรือช่วยในการชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาได้ ซึ่งจะเป็นเลนส์สายตาของแว่นสายตาที่คุณสามารถเลือกซื้อเลนส์ที่สามารถตัดแสง Blue light ได้จากร้านแว่นตาชั้นนำทั่วประเทศ

สิ่งที่ควรที่จะทำอีกข้อหนึ่ง ก็คือ การพยายามหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกๆชนิดก่อนที่จะเข้านอนเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อลดการสัมผัสกับแสงก่อนที่เราจะพักผ่อนในแต่ละวัน หรืออาจจะใช้วิธีการเปิดแสงชนิดอื่นอย่างแสงสีแดง หรือ Red Light จากไฟนีออนในห้องนอนตอนกลางคืน เพื่อให้แสงสว่างและทำให้เกิดผลกระทบต่อดวงตาน้อยที่สุดอีกทั้ง การดูแลตัวเองด้วยวิธีการเหล่านี้ ยังช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเมลาโทนิน ซึ่งมีผลที่ดีต่อการนอนหลับได้ด้วย

ถึงแม้ว่าแสง Blue Light จะเป็นแสงที่ค่อนข้างอันตรายต่อสุขภาพทางสายตาหรือการนอนหลับในตอนกลางคืน แต่จากการศึกษาพบว่า bluelight ที่ทำให้ดวงตาของเราเสื่อม โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแสงบที่มาจากแสงแดดมากกว่าที่มาจากจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือ แต่หากมีหนทางไหนที่จะช่วยในการป้องกันหรือลดการรับแสงสีฟ้าได้ก็ควรที่จะทำ

เชื่อว่าไม่มีใครที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคสมัยนี้ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้จักวิธีการใช้อย่างพอเหมาะ พอสมควร ใช้ในยามที่จำเป็น และมีการพักสายตาบ้าง หรืออาจจะมีการบำรุงสายตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารที่ดีต่อดวงตา ก็จะสามารถช่วยได้อีกทางหนึ่ง

Sending
User Review
0 (0 votes)
error

Enjoy this blog? Please spread the word :)