การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี, สุขภาพน่ารู้, เกี่ยวกับโรค

แอลกอฮอล์กับหัวใจ บำรุงหรือทำร้ายกันแน่

แอลกอฮอล์กับหัวใจ บำรุงหรือทำร้ายกันแน่

หากเราเคยได้ยินคำรณรงค์จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ก็ย่อมรู้ดีว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นสิ่งอบายมุขที่ไม่ควรบริโภคไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาปกติหรือช่วงเวลาการขับรถ เพราะจะทำให้ขาดสติและเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตได้

การรณรงค์ต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญที่ประชาชนส่วนใหญ่มีการเดิมทางบนท้องถนนกันมาก ก็จะยิ่งได้ยินสิ่งเหล่านี้จนคุ้นชินและฝังลึกลงไปใต้จิตสำนึกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่ทำการวิจัยและพบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่แล้วทำไมเครื่องดื่มชนิดนี้ ถึงยังคงมีอยู่และฝังลึกอยู่ในช่วงชีวิตของมนุษย์มาอย่างแสนยาวนาน และเชื่อว่าจะยังคงมีต่อไปในอนาคต

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มอย่างเหล้า เบียร์ หรือไวน์ ก็ยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคบางกลุ่ม โดยเฉพาะในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่เป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้เลย เหตุใดเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำลายสุขภาพจึงยังมีผู้ผลิตหลายเจ้าแย่งชิงกันครองส่วนแบ่งทางการตลาด นอกเหนือจากอันตรายต่อสุขภาพแล้ว จริงหรือไม่ที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้ก็ยังคงมีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์อยู่บ้าง โดยเฉพาะประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพหัวใจ เราจะมาไขข้อข้องใจของเครื่องดื่มชนิดนี้กันค่ะ

แอลกอฮอล์กับหัวใจ บำรุงหรือทำร้ายกันแน่
แอลกอฮอล์กับหัวใจ บำรุงหรือทำร้ายกันแน่ — ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/shallow-focus-shot-glass-white-wine_13554633.htm#page=1&query=alcohol&position=9

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีส่วนประกอบสำคัญ ก็คือ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นมาจากกระบวนการหมักของแป้งหรือน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ หรือผลไม้ การหมักในระดับที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อส่วนดีกรีหรือความเข้มข้นของปริมาณแอลกอฮอล์ที่อยู่ในเครื่องดื่มแต่ละประเภท ซึ่งโดยปกติแล้วแอลกอฮอล์ในเบียร์จะอยู่ที่ประมาณ 5% แอลกอฮอล์ในไวน์ประมาณ 12% และแอลกอฮอล์ในเหล้าประมาณ 40%

เมื่อเราบริโภคเครื่องดื่มประเภทนี้เข้าไปแล้ว แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านเยื่อบุตามระบบทางเดินอาหาร ทั้งบริเวณช่องปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร และส่งผลต่อระบบประสาทโดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ ระยะเวลาในการแสดงอาการของแต่ละบุคคลอาจจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดซึมสารของร่างกายและปริมาณในการดื่มในแต่ละครั้งด้วย

หากพูดถึงข้อเสียของแอลกอฮอล์ เรามักจะทราบกับดีว่า ‘การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ขาดสติ’ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งเป็นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมความคิดของมนุษย์ รวมไปถึงควบคุมการเคลื่อนไหว อารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งเมื่อระบบประสาทส่วนกลางถูกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์กดทับเนื่องจากการบริโภคในปริมาณมาก ก็จะส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่มักเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ ง่วงซึม ขาดสติ หรือเคลื่อนไหนอย่างยากลำบาก

อย่างไรก็ตาม หากเราดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายได้เช่นกัน เพราะมันจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

แล้วการดื่มแบบไหนถึงเรียกว่าเป็นการดื่มอย่างเหมาะสม มาลองอ่านกัน

การศึกษาในงานวิจัยหลายๆชิ้นพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์สามารถส่งผลดีต่อทั้งร่างกายและหัวใจได้ในหลายๆประการ ซึ่งประโยชน์ของแอลกอฮอล์อาจแตกต่างกันไปตามพันธุกรรม โรค หรือพฤติกรรมอื่นในชีวิตประจำวัน สามารถยกตัวอย่างข้อดีขอแอลกอฮอล์ได้้ เช่น

1 ช่วยป้องกันโรคหัวใจ

เมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมและลำเลียงไปตามกระแสเลือด ซึ่งจะมีผลไปกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดเป็นผลดีต่อการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจได้ ทั้งนี้ จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดภาวะหัวใจขาดเลือด ลดโรคหลอดเลือดในสมองตีบตัน หรือลดโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตันได้ถึง 25-40% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลย

2 ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเบาหวาน

สำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดื่มแอกอฮล์เพื่อลดภาวะการดื้อต่ออินซูลินได้ ซึ่งมีผลทำให้การตอบสนองของอินซูลินดีขึ้น จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานลงได้นั่นเอง

3 ช่วยลดความเครียดหรือความเศร้าโศก

บ่อยครั้งที่เราเห็นคนที่กลุ้มใจในชีวิตหันหน้าเข้าหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะหากพูดถึงประโยชน์ในด้านนี้แล้ว ก็ต้องยอมรับว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถช่วยเรื่องนี้ได้จริงๆ โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอาการมึนเมา ลดการรับรู้ จึงทำให้ช่วยคลายความรู้สึกที่ไม่ดีลงได้ชั่วคราว ทั้งนี้ เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อฤทธิ์กดประสาทลดลง ความรู้สึกที่ไม่ดีก็จะกลับมาอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกจุดสักเท่าไหร่ สำหรับคนที่ต้องเผชิญความเครียดหรือความเศร้าบ่อยๆ และเลือกวิธีนี้แก้ปัญหาเป็นประจำ อาจมีแนวโน้มที่จะได้รับผลเสียจากแอลกอฮอล์มากกว่าผลดีอย่างแน่นอน

สำหรับการดื่มแอลกอฮอล์ให้เกิดผลดีที่แนะนำ คือ เพศชายควรดื่มไม่เกิน 2 หน่วย และเพศหญิงดื่มไม่เกิน 1 หน่วยบริโภคต่อวัน โดยหน่วยบริโภคสามารถสังเกตได้จากข้างบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะมีระบุไว้ว่าในเครื่องดื่มแต่ละชนิดมีหนึ่งหน่วยบริโภคเท่ากับเท่าไหร่

แอลกอฮอล์กับหัวใจ บำรุงหรือทำร้ายกันแน่
แอลกอฮอล์กับหัวใจ บำรุงหรือทำร้ายกันแน่ — ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/tired-young-businessman-drinking_951665.htm#page=1&query=alcohol&position=3

ในทางกลับกัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนเกินจุดที่เหมาะสม จะทำให้เกิดเป็นผลเสียที่มากกว่าผลดี ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะและความยับยั้งชั่งใจ และนำไปสู่เหตุการณ์แห่งการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ได้ ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุหรืออาชญากรรมได้

และคนบางกลุ่มอาจต้องห้ามต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีความเสี่ยงที่จะได้รับโทษมากกว่าประโยชน์ กลุ่มดังกล่าว ได้แก่ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ที่เคยผ่านการบำบัดการเสพติดสุราและสารเสพติด ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้สมาธิสูง ผู้ที่ต้องขับขี่ยานพาหนะ เป็นต้น

Sending
User Review
0 (0 votes)
error

Enjoy this blog? Please spread the word :)